และมีความสุขในปี 2551
วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2551
สวัสดีปีใหม่ 2551
และมีความสุขในปี 2551
วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2551
วันครู
ครู หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ
วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้
การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา 2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ 3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้ รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์
มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ 2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น 3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้ 4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู 5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา 6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ 7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วน ตน 8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ 9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา 10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครูข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น
คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ
ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์
ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา
ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา
แก่ข้าในกาลปัจจุบัน
ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์
ด้วยใจนิยมบูชา
ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน
ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี
ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ
ข้าขอประนมกระพุ่ม อภิวาทนาการกราบคุณอดุลคุรุประทาน หิตเทิดทวีสรรสิ่งสมอุดมคติประพฤติ นรยึดประครองธรรม์ครูชี้วิถีทุษอนันต์ อนุสาสน์ประภาษสอนให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน นะตระการสถาพรท่านแจ้งแสดงนิติบวร ดนุยลยุบลสารโอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร ทะนุศิษย์นิรันดร์กาลไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญลุฉลาดประสาทสรรพ์บาปบุญก็สุนทรแถลง ธุระแจงประจักษ์ครันเพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล มนเทิดผดุงธรรมปวงข้าประดานิกรศิษ (ษ) ยะคิดระลึกคำด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ อนุสรณ์เผดียงคุณโปรดอวยพรสุพิธพรอเนก อดิเรกเพราะแรงบุญส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน- ทรศิษย์เสมอเทอญฯ
วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2551
สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดราชบุรี
1.พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชที่ยุทธภูมิบ้านนางแก้ว เมืองราชบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ครั้งสมัยรับราชการกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงได้รับมอบให้เป็นแม่ทัพรบกับพม่า และพระองค์เคยได้รับราชการตำแหน่ง "หลวงยกกระบตร" เมืองราชบุรี ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ชาวราชบุรีจึงได้จัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ไว้ ณ เชิงเขาแก่นจันทร์ ริมถนนเพชรเกษม ปัจจุบันจังหวัดปรับปรุงเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
http://www.thaitambon.com/tambon/ttrvList.asp?ID=700103
2.ถ้ำเขาบินเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีความสวยงาม อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ภายในถ้ำเต็มไปด้วยหินงอกหินย้อยที่มีความสวยงาม ในปี 2530 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้มอบหมายให้สำนักบริการวิชาการทำการศึกษาออกแบบพัฒนาถ้ำเขาบิน มีการติดตั้งไฟฟ้า แสง สี เพื่อเน้นความสวยงามของถ้ำ ตั้งอยู่ หมู่ที่ 11 ต.หินกอง อ.เมือง จ.ราชบุรี บนถนนสายราชบุรี - จอมบึง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 20 กม. โทร. (032) 337890,327659
http://www.thaitambon.com/tambon/ttrvList.asp?ID=700114
3.พระโพธิสัตว์กวนอิม ณ เขาเจ้าแม่กวนอิม วัดหนองหอยวัดหนองหอยเป็นวัดที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ.2416 ตั้งอยู่เในเขต ต.เขาแร้ง อ.เมือง จ.ราชบุรี ห่างจากตัวเมืองประมาณ 12 กิโลเมตร ในปัจจุบันนี้วัดหนองหอยเป็นที่รู้จักของสาธุชนทั่วไป เนื่องจากที่วัดหนองหอยแห่งนี้ มีรูปเหมือนองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมประดิษฐานอยู่ ฯ ยอดเขาหนองหอย ซึ่งจะเรียกกันว่า "เขาเจ้ามีกวนอิม วัดหนองหอย" เป็นที่ลำลือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มากไม่ว่าจะขออะไรก็ได้ดังใจ จะมีผู้คนมาสักการะบูชากันมิขาด โดยเฉพาะในวัดเทศกาลหรือวันหยุดhttp://www.thaitambon.com/tambon/ttrvList.asp?ID=700115
4.ถ้ำจีน – จามในสมัยทาราวดี มีผู้ค้นพบว่าบริเวณเทือกเขางูมีอยู่ 3 ถ้ำ คือ ถ้ำฤาษี ถ้ำฝาโถ ถ้ำจีน – จาม ในสมัยทาราวดี เล่าขานกันว่าทั้ง 3 ถ้ำ เป็นถ้ำที่ศักดิ์สิทธิ์ ภายในถ้ำมีประติมากรรมทางประวัติศาสตร์ และภูมิศาสตร์มีพระพุทธรูปปรางค์ลีลาประดิษฐานอยู่ภายในถ้ำ และแกะสลักประติมากรรมฝาผนังเป็นการบูรณะ ปรับปรุงให้โดยให้ปั้นปูนทับองค์เดิมไว้ตราบจนถึงปัจจุบันถ้ำมณีมงคลตั้งอยู่บ้านเขาหัวคน หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นห้องโถงขนาดกว้างใหญ่ มีหินงอก หินย้อยที่มีความสวยงามมาก รวมทั้งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอย่างยิhttp://www.thaitambon.com/tambon/ttrvList.asp?ID=700116
5.ถ้ำมณีมงคลตั้งอยู่บ้านเขาหัวคน หมู่ที่ 4 ตำบลน้ำพุ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ภายในถ้ำมีลักษณะเป็นห้องโถงขนาดกว้างใหญ่ มีหินงอก หินย้อยที่มีความสวยงามมาก รวมทั้งมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2550
ในหลวงกับเทคโนโลยี
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ ฯ ไปทรงเยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2524 ทรงพบว่า หลังจากมีการชักน้ำออกจากพื้นที่พรุเพื่อจะได้มีพื้นที่ใช้ทำการเกษตรและเป็นการบรรเทาอุทกภัยนั้น ปรากฎว่าดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิดประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุดและให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วยการแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรีย์วัตถุหรือซากพืชเน่าเปื่อย อยู่ข้างบนและมีระดับความลึก 1-2 เมตรเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก ดังนั้นเมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ "แกล้งดิน" เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ "แกล้งดินให้เปรี้ยว" ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น "แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด" จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้
http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/ka-set_1.htm
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงปัญหาการจราจรแออัดบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครชั้นในบริเวณถนนราชดำเนินกลาง ซึ่งเชื่อมต่อกับฝั่งธนบุรี ผ่านทางสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและเข้าบรรจบกับถนนจรัญสนิทวงศ์ เพื่อคลี่คลายปัญหาพื้นผิวจราจรไม่เพียงพอและปรับปรุงการไหลเวียนของการจราจรในบริเวณนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำริให้ก่อสร้างทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนีจากถนนอรุณอมรินทร์ถึงตลิ่งชันเมื่อประมาณกลางปี 2538 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรในบริเวณเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าและถนน บรมราชชนนี เป็นทางยกระดับขนาด ช่องจราจร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้แล้ว และเพื่อรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดใช้เส้นทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรม-ราชชนนีรวมทั้งเพิ่มจุดเชื่อมโยงกรุงเทพมหานคร ฝั่งพระนครและธนบุรีจึงทรงมีพระราชดำริผ่านมายังปลัดกรุงเทพมหานครให้พิจารณาก่อสร้างสะพานเป็นเส้นทางข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอีก 1 แห่ง บริเวณถนนอรุณอัมรินทร์ไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (ผ่านบางยี่ขัน) และ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ด้วย ได้พระราชทานแผนที่ให้กรุงเทพมหานครซึ่งเขียนแนวเส้นทางพระราชดำริด้วยลายพระหัตถ์ของพระองค์เองเพื่อให้กรุงเทพมหานครไปศึกษา ความเป็นไปได้ในการก่อสร้างตามพระราชดำริ
กรุงเทพมหานครได้ศึกษาทางเลือก 3 - 4 แนวสายทางแล้ว เห็นว่าสายทางที่โครงการเริ่มจากทางแยกวิสุทธิกษัตริย์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณท่าเกษมตรงธนาคารแห่งประเทศไทย อ้อมลงใต้ผ่านถนนอรุณอัมรินทร์เข้าบรรจบกับโครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนีเป็นแนวสายทางที่เหมาะสมกรุงเทพมหานครได้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างคณะรัฐมนตรีมีมติให้กรุงเทพมหานครดำเนินการก่อสร้างโครงการโดยวิธีออกแบบรวมก่อสร้างในวงเงิน 3,170 ล้านบาท โดยกรุงเทพมหานครแบ่งโครงการออกเป็น 2 ตอน คือ จากถนนวิสุทธิกษัตริย์ถึงคลอบางยี่ขันเป็นสะพานข้ามแม่น้ำและทางยกระดับ ประมาณการค่าออกแบบรวมก่อสร้าง 2,720 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 24 เดือน http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/kamana_1.htm
3.“ไบโอดีเซล” จากปาล์มประกอบอาหารสู่เชื้อเพลิงเครื่องยนต์
ด้วยสายพระเนตรอันยาวไกลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำทางด้านการพัฒนาพลังงานทดแทนผ่านโครงการส่วนพระองค์มาตั้งแต่ปี 2522 โดยมีโครงการผลิตแก๊สชีวภาพ เอทานอล แก๊สโซฮอล์ และไบโอดีเซลจากปาล์ม ซึ่งในส่วนของพระราชดำริด้านการพัฒนาน้ำมันปาล์มเพื่อใช้กับเครื่องยนต์ดีเซลนั้น การพัฒนาไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มในชื่อ “การใช้น้ำมันปาล์มกลั่นบริสุทธิ์เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์ดีเซล” ได้จดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 9 เม.ย.2544อีกทั้งในปี 2546 ทรงได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลจาก “โครงการน้ำมันไบโอดีเซลสูตรสกัดจากน้ำมันปาล์ม” ในงาน “บรัสเซลส์ ยูเรกา” ซึ่งเป็นงานแสดงสิ่งประดิษฐ์ใหม่ของโลกวิทยาศาสตร์ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ทั้งนี้ปาล์มเป็นพืชที่ให้ปริมาณน้ำมันต่อพื้นที่ปลูกสูง อีกทั้งเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ภายในประเทศ ซึ่งจะใช้ทดแทนการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้
ประยุกต์ผลการวิจัยค้นคว้าทางวิชาการด้านฝนเทียมของประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และอิสราเอล ภายใต้การพระราชทานข้อแนะนำจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอย่าง ใกล้ชิดพร้อมกันนี้ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานปฎิบัติการฝนหลวง" ขึ้น เพื่อรับผิดชอบการดำเนินงานฝนหลวงในระยะต่อ มาจนถึง ปัจจุบัน http://www.thaigoodview.com/library/studentshow/2549/m6/sri10/the_king_and_technology/energy_1.htm
4.ทฤษฎีว่าด้วยการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ " ฝนหลวง "
ในปี พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงเยี่ยม พสกนิกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงพบเห็นว่าหลายแห่งประสบปัญหา พื้นดินแห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูเพาะปลูก เกษตรกรมักประสบความเดือดร้อนจากภาวะฝนแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล และทรงความอัจฉริยะของพระองค์ด้วยคุณลักษณะของนักวิทยาศาสตร์ ทรงสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลในขั้นต้น และได้มีพระราชดำริครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2498 แก่หม่อมราชวงศ์เทพฤทธิ์ เทวกุล ว่าจะทรงค้นหา วิธีการที่จะทำให้เกิดฝนตกนอกเหนือจากที่จะได้รับจากธรรมชาติโดยการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาประยุกต์ กับทรัพยากร ที่มีอยู่ให้เกิดมีศักยภาพของการเป็นฝนให้ได้ "ฝนหลวง" หรือ "ฝนเทียม" จึงกำเนิดขึ้นโดย
การทำฝนหลวงว่ามี 3 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน เป็นการกระตุ้นให้เมฆรวมตัวเป็นกลุ่มแกน เพื่อใช้เป็น แกนกลางในการสร้างกลุ่มเมฆฝนในระยะต่อมา สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ แคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมคาร์ไบด์ แคลเซียมอ๊อกไซด์ หรือสารผสมระหว่าง เกลือแกงกับสารยูเรีย หรือสารผสม ระหว่างสารยูเรียกับแอมโมเนียมไนเตรท ซึ่งสารผสมดังกล่าวนี้จะก่อให้เกิดกระบวนการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศ 2. ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน ขั้นตอนนี้ใช้สารเคมี คือ เกลือแกง สารประกอบสูตร ท.1 สารยูเรีย สารแอมโมเนียไนเตรท น้ำแข็งแห้ง และอาจใช้สารแคลเซียมคลอไรด์ร่วมด้วยเพื่อเป็นการเพิ่มแกนเม็ดไอน้ำ (Nuclii) ให้กลุ่มเมฆฝน มีความหนาแน่นมากขึ้น 3. ขั้นตอนที่ 3 โจมตี สารเคมีที่ใช้ในขั้นตอนนี้เป็นสารเย็นจัด คือซิลเวอร์ไอโอได น้ำแข็งแห้ง เพื่อทำให้เกิดภาวะความไม่สมดุลมากที่สุด ซึ่งจะเกิดเป็นเม็ดน้ำ ที่มีขนาดใหญ่มากและตกกลายเป็นฝนในที่สุด อย่างไรก็ดี ทุกขั้นตอนจะต้องอาศัยความรู้และประสบการณ์ในการตัดสินใจที่จะเลือกใช้สารเคมีในปริมาณที่พอเหมาะ ทั้งนี้จะต้องคำนึงถึงสภาพอากาศสภาพภูมิประเทศทิศทางและความเร็วของลม ตลอดจนกำหนดบริเวณหรือแนวพิกัด ที่จะโปรยสารเคมี
ประโยชน์ของการทำฝนหลวง 1. เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในการเกษตรในช่วงที่เกิดภาวะฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วงยาวนานเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำ ให้กับพื้นที่ลุ่มรับน้ำของแม่น้ำสายต่างๆ ที่มีปริมาณน้ำต้นทุนลดน้อยลง 2. เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เสริมสร้างเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เป็นการเพิ่มปริมาณน้ำโดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำที่ตื้นเขินให้สามารถใช้เป็นเส้นทางคมนาคมได้ 3. เพื่อป้องกันและบำบัดภาวะมลพิษของสิ่งแวดล้อม "ฝนหลวง" ได้บรรเทาภาวะแวดล้อมเป็นพิษอันเกิดจากการระบาย น้ำเสีย และขยะมูลฝอยลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำจากฝนหลวงจะทำให้ภาวะมลพิษจากน้ำเสียเจือจางลง 4. เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าฝนหลวงในอนาคตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวความคิดให้ทำการศึกษาวิจัยพัฒนาฝนหลวงหลายประการ คือ สร้างจรวดฝนเทียมบรรจุสารเคมีจากพื้นดินเข้าสู่เมฆหรือยิงจากเครื่องบิน การใช้เครื่องพ่นสารเคมีอัดแรงกำลังสูงจากยอดเขาสู่ฐานของก้อนเมฆโดยตรง เพื่อช่วยให้เมฆที่ลอยปกคลุมอยู่เหนือยอดเขาสามารถรวมตัวหนาแน่นจนเกิดฝนตกลงสู่บริเวณภูเขาหรือพื้นที่ใต้ลมของภูเขา
5.ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่สนพระทัยใฝ่รู้และทรงศึกษาอย่างจริงจัง ลึกซึ้งในการค้นคว้าวิจัยเพื่อการพัฒนาในทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเกษตร การชลประทาน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศนั้น ทรงเห็นความสำคัญและประโยชน์อย่างยิ่ง ทรงสนับสนุนการค้นคว้าในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในด้านส่วนพระองค์นั้น ทรงศึกษาคิดค้นสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลต่างๆ ด้วยพระองค์เอง ทรงประดิษฐ์รูปแบบตัวอักษรไทยที่มีลักษณะงดงาม เพื่อแสดงผลบนจอภาพคอมพิวเตอร์และเครื่องพิมพ์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกพระราชกรณียกิจต่างๆ ทรงติดตั้งเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อสนับสนุนพระราชภารกิจต่างๆ ทั้งยังทรงเคยประดิษฐ์ ส.ค.ส. ด้วยคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเพื่อทรงอวยพรปวงชนชาวไทย
พระองค์ทรงสนพระทัยคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สังเกตได้จากขณะเสด็จพระราชดำเนินชมงานนิทรรศการต่างๆ เช่น สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พระองค์สนพระทัยซักถามอาจารย์และนักศึกษาที่ประดิษฐ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ อย่างละเอียดและเป็นเวลานาน